ม.วลัยลักษณ์ submit THE Impact Rankings ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

ม.วลัยลักษณ์ submit THE Impact Rankings ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

ม.วลัยลักษณ์ submit THE Impact Rankings ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

ม.วลัยลักษณ์ submit THE Impact Rankings ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

        วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2564) ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ submit THE Impact Rankings เป็นปีที่ 2 เพื่อสมัครเข้ารับการจัดลำดับ THE Impact Rankings ในปี พ.ศ. 2565 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภัทร์นรินทร์ ศุภกร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ และรองศาสตราจารย์ ดร. เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ ร่วมกันเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

        ในการสมัครเข้ารับการจัดลำดับ THE Impact Rankings ในปี 2564 หรือในปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้น  มหาวิทยาลัยฯ ได้คัดเลือก SDGs ที่มีผลงานดีที่สุด จำนวน 9 SDGs จากทั้งหมด 17 SDGs ประกอบด้วย SDG2: Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย) , SDG3: Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี), SDG4: Quality Education (คุณภาพการศึกษา), SDG6: Clean Water and Sanitation (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล), SDG9: Industry, Innovation and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม), SDG14: Life Below Water (ทรัพยากรทางทะเล) และ SDG17: Partnerships for the Goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) สำหรับ SDG ที่เพิ่มขึ้นในการ submit ครั้งที่ 2 คือ SDG 11: Sustainable Cities and Communities (การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน และ SDG12: Responsible Consumption and Production (สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืน)  โดย THE จะประกาศผลการจัดอันดับในเดือนเมษายน 2565

 

       ซึ่งสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ก็มุ่งเน้นการศึกษาที่ปลูกฝัง การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน เป็นหนึ่งในเเนวคิดของการจัดการเรียนการสอน ซึ่งตรงกับ SDG 11: Sustainable Cities and Communities (การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน ที่ทางมหาวิทยาลัยเสนอเพิ่มขึ้นในการสมัครเข้ารับการจัดลำดับ THE Impact Rankings ในปี 2564 

ข่าวโดยนางจิราพร กาฬสุวรรณ    ศูนย์กิจการนานาชาติ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย โดย QS Asia University Rankings เป็นครั้งแรก อยู่ในอันดับที่ 19 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 551-600 ของเอเชีย

ม.วลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ QS Asia University Rankings เป็นครั้งแรก

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย โดย QS Asia University Rankings

เป็นครั้งแรก อยู่ในอันดับที่ 19 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 551-600 ของเอเชีย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย โดย QS Asia University Rankings เป็นครั้งแรก อยู่ในอันดับที่ 19 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 551-600 ของเอเชีย

                                           มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย โดย QS Asia University Rankings เป็นครั้งแรก

                                                                             อยู่ในอันดับที่ 19 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 551-600 ของเอเชีย

 

         ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ ม.วลัยลักษณ์ได้มีการส่งข้อมูล เพื่อเข้ารับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจาก QS Asia University Rankings หรือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย  ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา QS Asia University Rankings 2022 ได้ประกาศออกมาแล้ว ผลปรากฏว่า ม.วลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับจาก QS Asia University Rankings เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ในอันดับที่ 19 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 551-600 ของเอเชีย ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้รับการจัดอันดับดังกล่าวตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเป็นต้นมาด้วย

 

             ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กล่าวต่อไปอีกว่า หากดูข้อมูลการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในปี 2020 ที่ได้เสนอไปทั้งหมด 363 บทความ การอ้างอิงผลงานประมาณ 2,500 รายการ การร่วมมือการวิจัยกับต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 37% ส่วนปี 2021 ม.วลัยลักษณ์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์มากขึ้นเป็นจำนวน 596 บทความ และคุณภาพผลงานการวิจัยตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus Q1,Q2 จำนวน 78 %  ส่วนการอ้างอิงผลงาน ประมาณ 4,000 รายการ และมีการร่วมมือกับต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันดับของม.วลัยลักษณ์จะขยับอยู่ในอันดับที่สูงกว่านี้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานหนักของเราชาววลัยลักษณ์ทุกคน

 

“มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งมั่นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ คุณภาพคือการก้าวเข้าสู่อันดับโลก ซึ่งนอกจาก QS Asia University Rankings แล้ว ในวันที่ 31 มีนาคม 2565 ม.วลัยลักษณ์ จะส่งผลงานเพื่อเสนอให้ THE Impact Rankings พิจารณาจัดอันดับโลกในปี 2565 ต่อไปอีกด้วย” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

  • หน่วยงานผู้ส่งข่าว: ส่วนสื่อสารองค์กร

แสดงความยินดีกับ อ.จาตุรันต์ พิบูลย์ – UKPSF

ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์จาตุรันต์ พิบูลย์ ที่ได้รับการรับรองในระดับ Fellow HEA Fellowships

 

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ 

ขอแสดงความยินดีกับ

 
อาจารย์จาตุรันต์ พิบูลย์
 
 อาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบภายใน
สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ที่ได้รับการรับรองในระดับ 
Fellow (FHEA)
 
ซึ่งการได้รับการรับรองในระดับ Fellow ตามมาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศอังกฤษ เป็นระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปทั้งนี้กรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา UKPSF ได้ถูกพัฒนาโดย The Higher Education Academy (HEA) หรือ Advance HE ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระระดับชาติในสหราชอาณาจักร เป็นกรอบที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นำมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ให้เป็นคณาจารย์มืออาชีพและมีการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
ได้มาตรฐานสากล
โครงการหลักสูตรระยะสั้น Landscape Design For Beginner ครั้งที่ 1

คอร์สอบรมระยะสั้น “การจัดภูมิทัศน์ฉบับมือสมัครเล่น”

👏🏼👏🏼👏🏼สำเร็จด้วยดี👏🏼👏🏼👏🏼 สำหรับการฝึกอบรมระยะสั้น 🌿" การจัดภูมิทัศน์ฉบับมือสมัครเล่น"

Landscape Design for Beginner
👏🏼👏🏼👏🏼สำเร็จด้วยดี👏🏼👏🏼👏🏼
สำหรับการฝึกอบรมระยะสั้น
🌿” การจัดภูมิทัศน์ฉบับมือสมัครเล่น” (Landscape Design for Beginner) เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ทางทีมผู้จัดขอขอบคุณผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทุกท่านที่ให้ความสนใจ ตั้งใจโชว์ฝีมือในกิจกรรมภาพวาดสีน้ำ และสวนสวยของฉัน สนุกสนานกันถ้วนหน้าจ้า 😊😊
🌱🌱พบกันใหม่ในกิจกรรมต่อไป🌱🌱
สามารถติดตามคอร์สใหม่ ๆ ที่น่าสนใจได้ทาง
Landscape Architecture WU อย่าลืมกดไลค์ กดติดตามเพจ Facebook ของเราด้วยนะคะ
🌠🏡⛺️🌱🛋️📖✏️📐✨
โครงการหลักสูตรระยะสั้น Landscape Design For Beginner ครั้งที่ 1

ผลการตัดสิน A.D. Competition 2021

ผลการตัดสิน A.D. Competition 2021 “อยู่-กับ-เหย้า-เฝ้า-กับ-เรือน”

ผลการตัดสิน A.D. Competition 2021 “อยู่-กับ-เหย้า-เฝ้า-กับ-เรือน”
 

                        สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบได้มีการจัดโครงการ AD OPEN HOUSE 2021 ได้มีการจัดกิจกรรมประกวดแบบ ภายใต้แนวคิด “อยู่-กับ-เหย้า-เฝ้า-กับ-เรือน” ขึ้นมา โดยได้ทำการตัดสินการประกวด ในวันที่ 7 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน โดยมีผลงานที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 46 ชิ้น แบ่งเป็น ประเภทที่ 1 (Junior Designer) จำนวน 3 ชิ้น และ ประเภทที่ 2 (Senior Designer) จำนวน 43 ชิ้น โดยมีมติดังนี้

> ประเภทที่ 1 (Junior Designer) มีรางวัลชนะเลิศ 1 ชิ้น รางวัลรองชนะเลิศ ไม่มี เนื่องจากคุณภาพของงานยังไม่สามารถพิจารณาได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ (โล่รางวัล/ ประกาศนียบัตร/ เงินรางวัล 5,000 บาท) ได้แก่
1. นายวริทธิ์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา “The Folder”

 
>>> ประเภทที่ 2 (Senior Designer) มีรางวัลชนะเลิศ 1 ชิ้น ในส่วนรางวัลรองชนะเลิศ จากที่ประชุมของคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นว่า มีผลงานเพียง 1 ชิ้นที่ได้รางวัล จากเดิมที่ต้องมี 2 ชิ้น ทั้งนี้ทางกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจึงได้เสนอปรับเพิ่มเติม ให้มีรางวัลชมเชยจำนวน 3 รางวัล โดยมีรายละเอียดดังนี้

– รางวัลชนะเลิศ มี 1 รางวัล (โล่รางวัล/ ประกาศนียบัตร/ เงินรางวัล 5,000 บาท) ได้แก่
1. นายภูวสิษฏ์ บัวขาว “The Second House”

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มี 1 รางวัล (ประกาศนียบัตร/ เงินรางวัล 2,000 บาท) ได้แก่
1. นายอัศม์เดช เกื้อสกุล “สะท้อนวิถีเลนอนเปลเหล่ลอบปลา”

– รางวัลชมเชย มี 3 รางวัล (ประกาศนียบัตร/ เงินรางวัล 1,000 บาท) ได้แก่
1. นางสาวกรกมล บุญเหลือ “All in One”
2. นายอุมัร อุมาส “Bedroom”
3. นายอินธนู โสภา “สุขใจในป่าไม้”

 

              ในส่วนของรางวัล #PopularVote เป็นการพิจารณาจากการกด Like ในผลงานที่ประกาศผ่านทาง Facebook: Walailak Architecture and Design – A.D. โดยได้ทำการเปิดให้ Vote ในวันที่ 4-8 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผลสรุป ดังนี้

 

ประเภทที่ 1 (Junior Designer) จำนวน 1 รางวัล (ประกาศนียบัตร/ เงินรางวัล 1,000 บาท) ได้แก่ นายวริทธิ์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา “The Folder”

 

ประเภทที่ 2 (Senior Designer) จำนวน 1 รางวัล (ประกาศนียบัตร/ เงินรางวัล 1,000 บาท) ได้แก่ นางสาวอลิสา ชัยพัฒน์ “WFH ROOM”

 

โดยผลการตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดนี้ถือเป็นที่สิ้นสุด

"KAILAND" เเจน อภิรักษ์ ชัยสิริ ศิลปินชาวภูเก็ต ศิษย์เก่าสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ​

ศิษย์เก่า “ดาวเด่น” เเจน อภิรักษ์ ชัยสิริ

"KAILAND" เเจน อภิรักษ์ ชัยสิริ ศิลปินชาวภูเก็ต ศิษย์เก่าสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

"KAILAND" เเจน อภิรักษ์ ชัยสิริ ศิลปินชาวภูเก็ต ศิษย์เก่าสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ​

วันนี้สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ พามารู้จัก ศิษย์เก่าผู้หลงไหลในงานศิลปะ “แจน อภิรักษ์ ชัยสิริ” เจ้าของ “KAILAND” โดยเเจน  อภิรักษ์ ชัยสิริ เป็นศิย์เก่า

รุ่นที่ 3 สาขาการออกแบบอุตสากรรม สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปัจจุบันเป็นเป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ภายใต้เเบรนด์  “KAILAND” ซึ่งมีผลงานมากมายทั่วภาคใต้ เเละผลงานชิ้นล่าสุด ถ่ายทอดศิลปะ Street Art แห่งใหม่ ณ HOMA Phuket Town จังหวัดภูเก็ต ที่กำลังจะเปิดในเดือนตุลาคมปีนี้

 
“Kailand” (ไข่แลนด์) หรือ แจน  ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวภูเก็ต กับภาพจิตรกรรมฝาผนังฟรีสไตล์ที่ Co-working space ของ HOMA
HOMA (โฮม่า) แบรนด์โครงการที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิดการใช้ชีวิตร่วมกัน (Co-living) จับมือ “Kailand” (ไข่แลนด์) หรือ “แจน ชัยสิริ” ศิลปินแนวสตรีทชาวภูเก็ต 
เนรมิตสตรีทอาร์ตแห่งใหม่ใจกลางเมืองภูเก็ต ณ โครงการ HOMA Phuket Town ที่กำลังจะเปิดในเดือนตุลาคมปีนี้ในภูเก็ต
ผลงานสตรีทอาร์ตของ Kailand จะปรากฏบนผนัง Co-working space ชั้นล่างของ HOMA Phuket Town โดย “Kailand” หรือ “ไข่แลนด์” มาจากคำว่า “ไข่” 
ซึ่งเป็นภาษาใต้ที่ใช้เรียก “เด็กซน” บวกรวมกับคาแรกเตอร์ขี้เล่นของ “แจน” จะทำให้พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความสนุกสนาน มีบุคลิกเฉพาะตัวซึ่งเปรียบเหมือนกับ
ลายเซ็นของศิลปิน และปลุกพลังผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของภูเก็ต ด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ใช้ลายเส้นและคาแรคเตอร์การ์ตูนแนวแฟนตาซี แต่งแต้มด้วยสีสันสดใส 
ถ่ายทอดเรื่องราวอารมณ์ขันผ่านตัวละครที่ดูน่ารัก ซึ่งเป็นผลงานที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และจะทำให้ผู้มาเยือนยิ้มกว้างได้ทันทีที่เดินเข้าไป
 
“ผมเรียนจบด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และเซรามิกส์ แต่สตรีทอาร์ตคืองานของผม ผมชอบที่จะแฮงเอาท์กับเพื่อน ๆ
และได้นำความรักเล็ก ๆ น้อย ๆ มาสู่ชุมชนท้องถิ่น” แจน กล่าว
 
ลูก้า ด็อตติ (Luca Dotti) ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ HOMA เผยวิสัยทัศน์ในการรวมศิลปินและช่างฝีมือท้องถิ่นเข้ากับโครงการที่เน้นการออกแบบว่า “HOMA”
ไม่เพียงแต่อยากให้ผู้อยู่อาศัยเข้าถึงความรู้สึกของสถานที่เท่านั้น แต่ยังอยากให้เข้าถึงจุดประสงค์ด้วย ซึ่งนั่นก็คือการมีส่วนร่วมและร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น 
และสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวก การทำงานกับ Kailand ทำให้เราบรรลุจุดประสงค์นั้นและอื่น ๆ อีกมากมาย เขาเป็นแรงบันดาลใจ มีความคิดสร้างสรรค์ 
มีพลัง เราสนุกมากที่ได้ร่วมงานกับเขา เขาทำให้ Co-working space มีชีวิตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ ซึ่งหลังจากนี้เขาจะสร้างสรรงานอาร์ตให้กับฟิตเนสและโซนอื่น ๆ 
ของ HOMA Phuket Town อีกด้วย” HOMA Phuket Town เป็นอะพาร์ตเมนต์แนวคิดใหม่แบบการใช้ชีวิตร่วมกัน (Co-living) และพื้นที่ทำงาน Co-working space 
ที่ตั้งอยู่ชั้นล่างของโครงการ ซึ่ง “Kailand” ได้บรรจงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ Street Art แห่งใหม่ของเมืองภูเก็ตไว้ที่นี่ด้วย
 
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ : Phuketandamannews

ผลงานอื่นๆของ "KAILAND" เเจน อภิรักษ์ ชัยสิริ

ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์พรทิพย์ กิ้มนวน ที่ได้รับการรับรองในระดับ Fellow HEA Fellowships คนที่ 389

แสดงความยินดีกับ อ.พรทิพย์ กิ้มนวน – UKPSF

แสดงความยินดีกับ อ.พรทิพย์ กิ้มนวน ที่ได้รับการรับรองในระดับ Fellow HEA Fellowships

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ขอแสดงความยินดีกับ
อาจารย์พรทิพย์ กิ้มนวน
 อาจารย์ประจำหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม
สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ที่ได้รับการรับรองในระดับ Fellow HEA Fellowships คนที่ 389 (ผู้สมัครในโครงการพิเศษที่ผ่านการอบรมเฉพาะ Pre-UKPSF และไม่ได้เข้าร่วมการอบรม UKPSF จาก AHE คนที่ 155)
 
ซึ่งการได้รับการรับรองในระดับ Fellow ตามมาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศอังกฤษ เป็นระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปทั้งนี้กรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา UKPSF ได้ถูกพัฒนาโดย The Higher Education Academy (HEA) หรือ Advance HE ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระระดับชาติในสหราชอาณาจักร เป็นกรอบที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นำมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ให้เป็นคณาจารย์มืออาชีพและมีการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
ได้มาตรฐานสากล
อาจารย์พรทิพย์ กิ้มนวน
แสดงความยินดีกับ อ.พรทิพย์ กิ้มนวน ที่ได้รับการรับรองในระดับ Fellow HEA Fellowships
บรรยายพิเศษ คุณพงษ์เทพ สกุลคู ออกัสท์ดีไซน์

บรรยายพิเศษ คุณพงษ์เทพ สกุลคู ออกัสท์ดีไซน์

บรรยายพิเศษ Special Lecture [2] ในงาน AD. OPEN HOUSE 2021

คุณพงษ์เทพ สกุลคู บริษัทออกัสท์ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

📢📢 สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอเชิญนักศึกษาและผู้สนใจ
เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษ Special Lecture [2]
ในงาน AD. OPEN HOUSE 2021
 
📌 คุณพงษ์เทพ สกุลคู
บริษัทออกัสท์ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
บรรยายในหัวข้อ “ประสบการณ์และผลงานออกแบบ”
🗓 วันพฤหัสบดี ที่ 26 สิงหาคม 2564
🗓 เวลา 10.30 – 12.00 น.
 
📌 ผ่านระบบ Zoom
Join Zoom Meeting
 
Meeting ID: 994 6858 2028
Passcode: 181217
คุณพงษ์เทพ สกุลคู บริษัทออกัสท์ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด บรรยายในหัวข้อ “ประสบการณ์และผลงานออกแบบ”
บรรยายพิเศษ Special Lecture [2] ในงาน AD. OPEN HOUSE 2021
คุณพงษ์เทพ สกุลคู บริษัทออกัสท์ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
Special Lecture [1] ในงาน AD. OPEN HOUSE 2021

กิจกรรมบรรยายพิเศษ ผศ.กานต์ คำแก้ว

ขอเชิญนักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษ Special Lecture [1] ในงาน AD. OPEN HOUSE 2021

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานต์ คำแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

📢📢 สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอเชิญนักศึกษาและผู้สนใจ
เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษ Special Lecture [1]
ในงาน AD. OPEN HOUSE 2021
📌 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานต์ คำแก้ว
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บรรยายในหัวข้อ “สถาปัยกรรมกับธรรมชาติ​ แนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่ไม่จีรังแต่ยังยืน”
🗓 วันพฤหัสบดี ที่ 26 สิงหาคม 2564
🗓 เวลา 9.00 – 10.30 น.
📌 ผ่านระบบ Zoom
Join Zoom Meeting
Meeting ID: 994 6858 2028
Passcode: 181217
สถาปัยกรรมกับธรรมชาติ​ แนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่ไม่จีรังแต่ยังยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานต์ คำแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายในหัวข้อ "สถาปัยกรรมกับธรรมชาติ​ แนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่ไม่จีรังแต่ยังยืน"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานต์ คำแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เชิญชวนนักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษสาขาสถาปัตยกรรม

เชิญชวนนักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษสาขาสถาปัตยกรรม

เชิญชวนนักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษสาขาสถาปัตยกรรม

เชิญชวนนักศึกษาและผู้สนใจ
เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษ สาขาสถาปัตยกรรม
โดย คุณ “จูน เซกิโน” แห่ง JUNSEKINO ARCHITECT AND DESIGN
หัวข้อ การออกแบบโรงเรียนอนุบาล
รายวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม 4 (ARC62-311)
ในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น.
Jun Sekino
เชิญชวนนักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษสาขาสถาปัตยกรรม
เชิญชวนนักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษสาขาสถาปัตยกรรม

ติดตามผลงานเพิ่มเติม ของคุณ JUN SEKINO