หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม​

  มคอ.2

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

แผนการเรียน

อ่านรายละเอียดของหลักสูตรปริญญาตรีหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี)  คลิ๊กด้านบนนะคะ

    หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต

    สาขาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี)

 

 

 

     ” เป็นหลักในถิ่น แหล่งเรียนรู้ศิลปวิทยา

     พัฒนาสู่สากล สรรค์สร้างชุมชนอย่างยั่งยืน “

   _

     ปณิธานของหลักสูตรคือ มุ่งมั่นในการพัฒนาบัณฑิตคุณภาพ สอดคล้องตามอัตลักษณ์

     บัณฑิตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม อุตสาหะสู้งาน

     มีความรู้ทางวิชาการและทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ สอดคล้องกับความต้องการตลาด

     แรงงานในระดับชาติและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์

     งานออกแบบเพื่อชุมชนและสภาพแวดล้อม โดยตระหนักถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคม

     ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ตลอดจนมุ่งมั่นศึกษาพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาชุมชน

     และสังคมอย่างยั่งยืนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล

.

Architecture program

     

 

      _

          หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม

          สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

          ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม

          ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Architecture Program in Architecture

          ชื่อปริญญา

          ภาษาไทย: สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรม)

          ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Architecture (Architecture)

     _

     คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

     1. มีความสามารถทางด้านการออกแบบงานสถาปัตยกรรม เเละสอบใบประกอบวิชาชีพ

     สถาปัตยกรรมควบคุมได้ เพราะเป็นหลักสูตรที่ได้รับรองจากสภาสถาปนิก

     2. มีความสามารถทางด้านการออกแบบงานออกแบบภายใน งานออกแบบผลิตภัณฑ์

     เเละงานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นฐานได้ เพราะมีรายวิชาทั้งทฤษฎีเเละปฎิบัติในหลักสูตรร่วมกัน

     3.ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาทางสถาปัตยกรรมได้ (ในกรณีที่เรียนต่อจนจบ

     การศึกษาในระดับมหาบัณฑิต) เพราะเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิก

     4. ประกอบอาชีพทางด้านการสร้างสรรค์งานได้ เพราะการเรียนในหลักสูตรสถาปัตยกรรม

     มีกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ มีกระบวนการ ขั้นตอน การทำงาน

     อย่างเป็นระบบเเละต้องแสดงงานออกแบบเพื่อสื่อสารให้ผู้คนได้เข้าใจ

 

Architecture program
Architecture program

     

     _

     แนวทางประกอบอาชีพ

     งานราชการเเละรัฐวิสาหกิจ ตำแหน่งสถาปนิกในหน่วยงานราชการ เช่นสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานจังหวัด

     หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เเละหน่วยงานอื่นๆ

     งานเอกชน ตำแหน่งสถาปนิกในบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม ควบคุมงานก่อสร้าง รับจ้างก่อสร้างอาคาร

     การบริหารจัดการอาคาร งานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เเละงานเกี่ยวเนื่องอื่นๆ

     แนวทางการศึกษาต่อ

     สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมหรือสาขาอื่นๆได้ในทุกสถาบันการศึกษา

     ทั้งในและต่างประเทศ

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,800.- บาท

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 357,000.- บาท

 

_

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร ไม่น้อยกว่า   213   หน่วยกิต

 

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education)   40    หน่วยกิต 

     1) กลุ่มวิชาภาษา                                   20      หน่วยกิต 
           1.1 วิชาภาษาไทย                             4       หน่วยกิต
           1.2 วิชาภาษาอังกฤษ                         16      หน่วยกิต

     2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์          8       หน่วยกิต 

     3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์           8       หน่วยกิต 

     4) กลุ่มวิชาบูรณาการ                              4       หน่วยกิต 

     5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ                             4*      หน่วยกิต
             

  หมายเหตุ*ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร 

ข) หมวดวิชาเฉพาะ (Specialized Education)   165     หน่วยกิต

     1) กลุ่มวิชาหลัก                                   62     หน่วยกิต 

     2) กลุ่มพื้นฐาน                                    26     หน่วยกิต 

     3) กลุ่มวิชาเทคโนโลยี                             34     หน่วยกิต 

     4) กลุ่มวิชาสนับสนุน                              35     หน่วยกิต 

     5) กลุ่มวิชาเลือก                                   8      หน่วยกิต 

       

สมัครเรียน

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาสถาปัตยกรรม

Share this:

Like this:

Like Loading...
%d bloggers like this: