1. จัดการความรู้รายวิชาสถาปัตยกรรมไทย
สู่การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้

วัตถุประสงค์ ของโครงการ

1) สร้างองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่ภาคใต้และรวบรวมเผยแพร่เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางด้านวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

2) นักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

หลักการและเหตุผล

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบได้จัดโครงการอนุรักษ์มรดกทาสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยได้บูรณาการกับการเรียนการสอน รายวิชาสถาปัตยกรรมไทยเพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษารายวิชาดังกล่าวและผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของสำนักวิชาที่จะเป็นฐานข้อมูลทางด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ในการเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการสืบสานเพื่อทำนุบำรุงศิลป-วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้นักวิชาการ นักศึกษาทางสถาปัตยกรรมหรือคนที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและมีส่วนร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า โดยที่เกิดการอนุรักษ์จากชุมชนเองบูรณาการร่วมกับการเรียนรู้และการปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของอาจารย์ และนักศึกษาทั้งในและระหว่างคณะด้านสถาปัตยกรรมในพื้นที่ภาคใต้ และสามารถพัฒนาทางกายภาพให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้โดยชุมชนเองมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เกิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า และเกิดการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน อันจะสร้างรายได้ให้ชาวบ้านและเกิดการสืบสานภูมิปัญญาและวิถีชีวิตชาวบ้านไปพร้อมกันบนฐานทางวัฒนธรรมของชุมชนเอง

2. โครงการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ สาขาสถาปัตยกรรม

          โครงการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ สาขาสถาปัตยกรรม ปีการศึกษา 2563

นำนักศีกษาทัศนะศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ สำรวจรังวัด เขียนแบบและทำหุ่นจำลองสถาปัตยกรรมไทย

พระอุโบสถ หอฉัน หอไตร วัดวนชะลิก อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และวัดควนปรง อ.เมือง จ.พัทลุง

3. การปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและความสำคัญด้านมรดกทางวัฒนธรรม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช สู่การเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก

                    งานด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่เมือง นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมผังเมืองที่มีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เมือง เนื้องานการออกแบบและรายละเอียดของงานมีความซับซ้อนยากง่ายแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่เมืองนั้นๆ การทำงานในพื้นที่จริงต้องอาศัยความเข้าใจในพื้นที่ ความสนใจและเอาใจใส่ในหน้าที่รับผิดชอบที่ต่อเนื่องอย่างมาก พื้นที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ต้องการการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการการทำงานที่ได้นำเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้ ผ่านการบันทึกถ่ายทอดโดยอาจารย์วิรุจทำให้ภาพของงานการออกแบบในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมืองมีความชัดเจนจับต้องได้มากยิ่งขึ้นเงื่อนไข ข้อแม้ในการทำงานที่ปรากฏในหนังสือ เผยให้เห็นความงดงามและซับซ้อนของศาสตร์ในการตอบสนองความต้องการและประเด็นปัญหาที่สำคัญของสังคมได้อย่างดี เนื้อหาที่ถูกขยายความผ่านภาพถ่าย เปิดให้เห็นมุมมองที่มีต่อสถานที่และสนับสนุนสาระสำคัญในหนังสือเล่มนี้ให้เข้าใจง่ายมากขึ้นหนังสือเล่มนี้หมาะกับผู้สนใจคำบอกเล่าในเนื้อหาของพื้นที่ประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยน้ำมือของสถาปนิกผังเมืองที่ทำหน้าที่ของตนบนผืนแผ่นดินชิ้นนั้นตามหลักวิชาที่ได้เล่าเรียนมา

                               

ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ

ภาควิชาวางแผนภาคและเมือง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Share this:

Like this:

Like Loading...