ACT FORUM’20 DESIGN+BUILT ภายใต้แนวคิด‘สถาปนิกปันสุข’

งาน ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT ภายใต้แนวคิด ‘สถาปนิกปันสุข’

             สภาสถาปนิก ร่วมกับ อารยะ เอ็กซ์โป ประกาศเดินหน้า

จัดงาน ACT FORUM 20 DESIGN + BUILT ภายใต้แนวคิด ‘สถาปนิกปันสุข’

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ลุกลามเข้าสู่การปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม วงการสถาปัตยกรรม ออกแบบและก่อสร้าง ก็เป็นอีกหนึ่งวงการที่ได้รับผลกระทบอยู่ไม่น้อย หลายกิจกรรมต้องงดจัดไปโดยปริยาย ทว่าสภาสถาปนิกและบริษัท อารยะ เอ็กซ์โป จำกัด กลับเห็นต่าง และขอเป็นหนึ่งกำลังสำคัญของวงการ ด้วยการเดินหน้าจัดงาน ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT งานใหญ่งานเดียวแห่งปีที่จะรวบรวมเรื่องราว องค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมทุกสาขา (สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมผังเมือง) เทรนด์ด้านการออกแบบ และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลกไว้อย่างครบครัน

           ช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟู สู่ ‘สถาปนิกปันสุข’

คุณประกิต พนานุรัตน์ ประธานจัดงาน ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT  กล่าวว่า “สถานการณ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราจะมาร่วมมือกันหาแนวทางฟื้นฟูวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมและอุตสาหกรรมก่อสร้างให้สามารถรับมือ ปรับตัว และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนไปหลังสถานการณ์โควิด-19 ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่างนั้นเป็นการเปลี่ยนไปแบบชั่วครั้งชั่วคราว แต่หลายอย่างก็เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เป็นชีวิตวิถีใหม่ หรือที่เรียกว่า New Normal”

“สถาปนิกปันสุข ซึ่งเป็นแนวคิดการจัดงานในปีนี้เกิดขึ้นจากความต้องการร่วมมือกันฟื้นฟูวงการสถาปัตยกรรมและอุตสาหกรรมก่อสร้าง ด้วยการส่งมอบความสุขผ่านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตที่ดีขึ้น”

 

              จัดงาน ขานรับ New Normal

ด้าน คุณศุภแมน มรรคา ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท อารยะ เอ็กซ์โป จำกัด ผู้จัดงาน  ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT กล่าวว่า “การจัดงานในปี 2562 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ด้วยยอดผู้เข้าชมงานกว่า 25,000 ราย แบ่งเป็น กลุ่มเป้าหมายหลัก อาทิ สถาปนิก นักออกแบบ วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ถึง 75% และกลุ่มบุคคลทั่วไป 25% ในขณะเดียวกันก็ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ก่อสร้างกว่า 300 ราย จาก 30 ประเทศทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม สิงคโปร์ เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ที่ตอบรับเข้าร่วมจัดแสดงสินค้า เรียกได้ว่าเป็นงานประชุมนานาชาติทางสถาปัตยกรรมและแสดงเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่มีความเข้มข้นทั้งในฝั่งของผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน

 

               สำหรับการจัดงานในปีนี้ยังคงความเข้มข้นของเนื้อหาสาระที่ผู้เข้าชมจะได้รับ อาทิ

  • การจัดแสดงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจากแบรนด์ชั้นนำทั้งจากไทยและต่างประเทศ อาทิ MAKITA, FORMICA, ARITCO, TPS GARDEN, TPI POLENE เป็นต้น
  • เวทีสัมมนาจากวิทยากรชั้นนำ
  • Designer Hub Pavilion พื้นที่รวบรวมสถาปนิก นักออกแบบ และผู้ให้บริการด้านก่อสร้าง
  • การให้คำแนะนำจากสถาปนิกอาสา
  • ข้อเสนอพิเศษจากผู้แสดงสินค้า

 

               ในขณะที่การขานรับ New Normal ของ ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT จะมีทั้งในส่วนของเนื้อหาของการสัมมนาที่เพิ่มเติมประเด็นที่น่าสนใจสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาทิ สถาปนิกในยุค ‘New Normal’ นวัตกรรมวิถีใหม่ในโรงพยาบาล การออกแบบโรงแรมและคอนโดมิเนียมในยุค COVID-19 สถาปนิกจบใหม่..ทำอะไรดี? เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบการจัดงานได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับ Social Distancing อาทิ การทำ Hybrid Conference รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยและสุขอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมงานมากที่สุดคุณศุภแมน กล่าวทิ้งท้าย

งาน ACT FORUM ’20 DESIGN + BUILT มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ActForumExpo.com

**************

งานสถาปนิก’64 “มองเก่า ให้ใหม่ : Refocus Heritage”

งานสถาปนิก’64 “มองเก่า ให้ใหม่ : Refocus Heritage”

สถาปนิก’63 งานแสดงสถาปัตยกรรมและวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 34 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “มองเก่า ให้ใหม่: Refocus Heritage” ชวนผู้ชมมาปรับความคมชัด เรื่องราวมรดกสถาปัตยกรรม สานต่อคุณค่าภูมิปัญญาจากอดีต ร่วมรักษา ปรับใช้ และต่อยอด มรดกอันทรงคุณค่าเพื่อให้คงอยู่กับคนรุ่นต่อไป ตื่นตาไปกับนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างจากผู้แสดงสินค้ากว่า 850 แบรนด์ทั่วโลก นิทรรศการให้ความรู้ และกิจกรรมเพลิดเพลินมากมาย บนพื้นที่จัดแสดงรวมกว่า 75,000 ตารางเมตร ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ​ฮอลล์ เมืองทองธานี

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ได้ที่ : 

https://www.asaexpo.org

บรรยากาศนิทรรศการ “สำแดง”

ภาพบรรยากาศนิทรรศกการ "สำแดง"

🚩 A D. O P E N H O U S E ‘ 2 0 2 0 🚩
สำนักวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดกิจกรรม
—————-🔴🔴🔴🔴🔴—————-
สำ แ ด ง [ r e t u r n ] A D . E X H I B I T I O N ‘ 2 0 2 0
[ สั ม ผั ส- สั ม พั น ธ์- สำ นั ก วิ ช า ส ถ า ปั ต ย์ ]
—————-🔴🔴🔴🔴🔴—————-
พบกับกิจกรรมทางวิชาการเเละผลงานนักศึกษาจากทุกสาขาวิชา
🔴สาขาสถาปัตยกรรม
🟠สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
🟡สาขาออกแบบภายใน
🟢สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์
ระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2563
ณ อาคารปฎิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบกับกิจกรรม
– INTERNATIONAL WORKSHOP
– SPECIAL LECTURE

INTERNATIONAL WORKSHOP

INTERNATIONAL WORKSHOP

A D. O P E N H O U S E ‘ 2 0 2 0
สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
——————————————————
INTERNATIONAL WORKSHOP
——————————————————
โดย Prof.Dr. Thomas Mical
Jindal School of Art and Architecture,(JSAA)
บรรยายในหัวข้อ “Automation for Daily Living”
โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ Jindal Global University ประเทศอินเดีย ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าร่วมโครงการ
วันที่ 28-30 สิงหาคม 2563
ณ อาคารปฎิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เเล้วเจอกัน!!!

AD.OPEN HOUSE 2020

AD.INTERNATIONAL WORKSHOP 2020

A D. O P E N H O U S E ‘ 2 0 2 0
สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
——————————————————
INTERNATIONAL WORKSHOP
SPECIAL LECTURE
——————————————————
กิจกรรมที่ 1 International workshop โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ Jindal Global University ประเทศอินเดีย
ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าร่วมโครงการ
กิจกรรมที่ 2 Special lecture เป็นการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิในระดับชาติและนานาชาติ ดังนี้
1 คุณอรรถวุฒิ แก้วสุทธิพล จากบริษัท ARCHITECTS 49 LIMITED บรรยายในหัวข้อ “Public Building”
2 Prof.Dr.Thomas Mical บรรยายในหัวข้อ “The Last Lecture for the New Paoz Architects
วันที่ 28-30 สิงหาคม 2563
ณ อาคารปฎิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เเล้วเจอกัน!!!

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 075-67-3000 ต่อ 4231-4233

สำแดง [ return ] AD.EXHIBITION’20

A D. O P E N H O U S E ' 2 0 2 0

กลับมาอีกครั้งอย่างภาคภูมิ เปิดบ้านสถาปัตย์’63
A D. O P E N H O U S E ‘ 2 0 2 0
สำนักวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
—————-🔴🔴🔴🔴🔴—————-
สำ แ ด ง [ r e t u r n ] A D . E X H I B I T I O N ‘ 2 0 2 0
[ สั ม ผั ส สั ม พั น ธ์ สำ นั ก วิ ช า ส ถ า ปั ต ย์ ]
—————-🔴🔴🔴🔴🔴—————-
พบกับกิจกรรมทางวิชาการเเละผลงานนักศึกษา จากทุกสาขาวิชา
—สาขาสถาปัตยกรรม
—สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
—สาขาออกแบบภายใน
—สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ วันที่ 28-30 สิงหาคม 2563
ณ อาคารปฎิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบกับกิจกรรม
– INTERNATIONAL WORKSHOP
– SPECIAL LECTURE
– AD. EXHIBITION’2020 เเล้วเจอกัน!!!
 
 

คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณ

 

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ นำผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณ

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563

 

วันนี้ (21 กรกฎาคม 2563 ) ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2563 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

28 กรกฎาคม 2563 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยในพิธีฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประธานในพิธี ได้ถวายความเคารพ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพถวายราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นได้กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และนำผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า

จะประพฤติปฏิบัติตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี และพลังของแผ่นดิน มีความซื่อสัตย์สุจริตเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท มุ่งมั่นแน่วแน่แก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน

สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่แผ่นดินและดำเนินชีวิต โดยยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนาตามแนวทางในพระบรมราโชวาทตลอดไป”

ประธานในพิธีและผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงสดุดีจอมราชา  เป็นอันเสร็จพิธี  จากนั้นอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ได้ให้ข้อคิดการทำงานตามแนวทางเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีเพื่อเป็นพลังสำคัญให้แผ่นดินนี้

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขอเชิญผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ผ่านแบนเนอร์ลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ บนหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หรือผ่านทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของสำนักงานก.พ. www.ocsc.go.th   ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2563

ข้อมูลจากส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ “ระดับปริญญาโท”

ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักวิชาสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มีความประสงค์ เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ “ระดับปริญญาโท”

เพื่อศึกษาในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ2564 (ทุนมวล.)

– สาขาสถาปัตยกรรม จำนวน 1 อัตรา

 

 

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเเละดาวโหลดใบสมัครได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

 

https://drive.google.com/file/d/1_53ajZ4VNKBigyC2yxfiHjxajaiPjdHC/view?fbclid=IwAR0EhZQu1GNcNCuikZ7mucCUlUqdJmqn2O-1Pcbodh72WDK5vZ3naMz98_A

สารจากคณบดี: รองศาสตราจารย์ ดร.กิจชัย จิตขจรวานิช

สารจากคณบดี

 

 

ในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน หรือที่เรียกว่า

“เทคโนโลยี ดีสรัปชั่น (Technology disruption)” ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการอยู่รอด คือการปรับตัว   คำนี้เป็นคำสำคัญ เป็น keyword ที่มีนัยสำคัญมาตั้งแต่อดีตกาล

ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ดึกดำบรรพ์ ผ่านช่วงเวลาต่างๆ จนถึงทุกวันนี้   สิ่งมีชีวิตใดที่รู้จักการปรับตัว ก็จะสามารถอยู่รอด ผ่านห้วงวิกฤตมาได้

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้คำนึงถึงสถานการณ์เช่นนี้อย่างรอบรู้

และเห็นว่าการปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเราในฐานะองค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องสามารถปฏิบัติตน

ให้เป็นผู้นำของการปรับตัวครั้งนี้ และนำพาผู้คนในสังคมให้รอดพ้นจากวิกฤตได้อย่างปลอดภัย   คณาจารย์ในหลักสูตรต่างๆ ของเรา

ทั้งสาขาสถาปัตยกรรม สาขาการออกแบบภายใน และสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ปรับกลยุทธ์การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์

ในช่วงที่สังคมต้องการระยะห่าง โดยผ่านโปรแกรมต่างๆ ได้แก่ Zoom, Webex, Microsoft Meeting และ Google Classroom

เราได้ใช้บทเรียนต่างๆ จากสื่อโซเชียลมีเดียอันเป็นความรู้กว้างไกลโดยผนวกเข้ามาสู่ชั้นเรียน  รวมถึงการสัมมนาสำนักวิชาฯ

ได้ถกกันถึงประเด็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ A.I. (Artificial Intelligent) ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้

ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจข้อมูลทางดิจิทัล (digital literacy),

วัสดุสมาร์ท (smart materials), เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D printing), อุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูล

ถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต (Internet of Thing – IoT) ตลอดจนระบบการสร้างแบบจำลองทางดิจิทัลเสมือนของอาคารที่แม่นยำ

(Building Information Modeling – BIM)  นอกจากนี้ยังรวมถึงความรอบรู้เรื่องความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อม (environmental sustainability)

และเมืองอัจฉริยะ (smart cities)

ดังนั้น ในปีการศึกษา 2563 – 2564 นี้ สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบจึงจะได้เปิดยุคสมัยใหม่แห่งการเรียนรู้

ทางด้านงานสร้างสรรค์ของการออกแบบที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีข้อมูลทางดิจิทัล ที่พร้อมจะก้าวเดินไปกับสังคมปกติใหม่ (New Normal)

สู่อนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.กิจชัย จิตขจรวานิช

คณบดีสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การจัดการความรู้รายวิชาสถาปัตยกรรมไทย สู่การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้

การจัดการความรู้รายวิชาสถาปัตยกรรมไทย

สู่การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้

 

วัตถุประสงค์ ของโครงการ

1) สร้างองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่ภาคใต้

และรวบรวมเผยแพร่เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางด้านวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

2) นักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

 

หลักการและเหตุผล

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบได้จัดโครงการอนุรักษ์มรดกทาสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ขึ้นเป็นประจำทุกปี

โดยได้บูรณาการกับการเรียนการสอน รายวิชาสถาปัตยกรรมไทยเพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษารายวิชาดังกล่าวและผู้เข้าร่วมโครงการ

ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของสำนักวิชาที่จะเป็นฐานข้อมูล

ทางด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ในการเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการสืบสาน

เพื่อทำนุบำรุงศิลป-วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้นักวิชาการ นักศึกษาทางสถาปัตยกรรมหรือคนที่สนใจ

เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและมีส่วนร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า โดยที่เกิดการอนุรักษ์จากชุมชนเองบูรณาการร่วมกับการเรียนรู้

และการปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของอาจารย์ และนักศึกษาทั้งในและระหว่างคณะด้านสถาปัตยกรรมในพื้นที่ภาคใต้ และสามารถพัฒนา

ทางกายภาพให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้โดยชุมชนเองมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เกิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า

และเกิดการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน อันจะสร้างรายได้ให้ชาวบ้านและเกิดการสืบสาน

ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตชาวบ้านไปพร้อมกันบนฐานทางวัฒนธรรมของชุมชนเอง

 

สามารถดูรายละเอียดได้จากลิงค์นี้ https://arch.wu.ac.th/?page_id=9667