SDG logo
SDG 11

++ SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES ++

Planning development - new build standards Build new buildings to sustainable standards

โครงการศึกษาออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมคุณค่ามรดกทาง วัฒนธรรมและพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

โครงการศึกษาออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อส่งเสริมคุณค่ามรดกทาง วัฒนธรรมและพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

          วัดคงคาเลียบเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อประวัตศาสตร์ชุมชนท่าซักมายาวนาน ในปี พ.ศ.2564 มูลนิธิพันธรักษ์ราชเดชร่วมกับวัดคงคาเลียบได้มีโครงการ “พระบาทเรกสู่เมืองนครศรีธรรมราช” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อลำลึกประวัติศาสตร์ที่สมเด็จพระเจ้าตามมีพระมหากรุณาธิคุณกับเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต ซึ่งท่านได้เสด็จพระพาสมาสู่เมืองนครฯเพื่อรวบรวมไพร่พลก่อนกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน โดยได้มอบหมายให้สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นทีมศึกษาออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์และวางผังแม่บทบริเวณพื้นที่วัดคงคาเลียบ โดยมีผู้ร่วมโครงการ คือ

  1. รศ.ดร.วิรุจ ถิ่นนคร รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาตร์และการออกแบบ เป็นหัวหน้าโครงการ
  2. อ.ธนากร อนุรักษ์ เป็นคณะทำงาน อาจารย์ประจำสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาตร์และการออกแบบ
  3. นายปริญญา ฆังคะสะเร นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาสถาปัตยกรรม
  4. นายซฮัด ซาติค นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาสถาปัตยกรรม

โดยสำรวจภาคสนามและมีประเด็นการวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านสถาปัตยกรรม ด้านมุมมอง ด้านพืชพรรณและด้านกิจกรรมการใช้งาน เพื่อทราบถึงสภาพปัญหาและศักยภาพของพื้นที่

จากการศึกษาพบว่า ในสภาพพื้นที่ปัจจุบันเป็นอาคารที่สร้างใหม่มีอายุไม่เกิน 15 ปี วางกระจายตัวในพื้นที่และบดบังทัศนีภาพพื้นที่ริมคลองท่าซักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินและวิถีชิวิตชุมชนริมน้ำเดิม รวมถึงการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ว่างภายในวัดขาดความต่อเนื่อง จึงได้เสนอแนวคิดในการปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ดังนี้

1.ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและองค์ประกอบภายในวัดคงคาเลียบที่มีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ของพระเจ้าตากสินและวิถีชิวิตชุมชนริมน้ำเดิมให้มีความโดดเด่นได้แก่ พื้นที่ริมคลอง บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ลานทรายภายในบริเวณวัดและต้นไม้ใหญ่

  1. สร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินในตำแหน่งบริเวณลานทรายใกล้ริมคลองท่าซัก โดยหันหน้าพระพักต์ไปยังตัวเมืองเก่านครศรีธรรมราช
  2. รื้อย้ายอาคารที่บดบังทัศนียภาพริมคลองและเก็บรักษาอาคารที่มีคุณค่าตามความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โดยการนำเสนอ 2 ครั้งและผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ วัดคงคาเลียบ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าซัก มูลนิธิพันธรักษ์ราชเดช ชาวชุมชนท่าซัก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โครงการส่งผลต่อชุมชน เกิด “positive changes” ในชุมชนและเกิด “after shock” ในชุมชน โดยชาวชุมชนโดยรอบวัดคงคาเลียบเกิดการรับรู้และตื่นตัวในการสนับสนุน ผลต่อนักศึกษา ได้เรียนรู้ในบริบทจริง (Active learning) ผลต่อการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ บูรณาการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการขบเคลื่อนงานวชาการรับใช้สังคม (Stakeholder and partner Integration) รวมถึงตอบโจทย์ SDGs ในหัวข้อดังนี้

เป้าหมาย 11.2.6 Record and preserve cultural heritage โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ภายในพื้นที่วัดคงคาเลียบ โดยการฟื้นฟู้ประวัติศาตร์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพของวัด รวมถึงการฟื้นฟู้วิถีชีวิตเดิมบริเวณริมคลองให้เป็นพื้นที่นันทนาการของชุมชน

เป้าหมาย 11.4.8 Planning development – new build standards โดยในการการพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มีการออกแบบและเขียนตามหลักการรอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมแบบสากล (UNESCO) และความยั่งยืน โดยเคารพบริบท นิเวศและสภาพแวดล้อมเดิมของพื้นที่และ ส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมเดิมให้เด่นชัด รวมถึงมีมาตรฐานทางวิชาชีพซึ่งมีสถาปนิกและวิศวกรเพื่อความถูกต้องตามมาตรฐานการก่อสร้างกฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายของกรมเจ้าท่า

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่แผนกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

        สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบภายใน นำโดย อาจารย์สุริณี กิ่งกาด หัวหน้าโครงการ และทีมคณาจารย์สาขาออกแบบภายใน ได้รับการประสานงานจากโรงพยาบาลท่าศาลาจากความต้องการปรับปรุงพื้นที่บริเวณชั้น 1 เป็นคลินิกผู้สูงอายุ โดยสาขาการออกแบบภายในได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบคลินิกผู้สูงอายุใน “โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่แผนกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช”

       ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หลายภาคส่วนหันให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาระบบรองรับสังคมผู้สูงวัย รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ หลายหน่วยงานผู้ให้บริการแก่ผู้สูงอายุเริ่มหันมาให้ความสนใจและตระหนักถึงการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการดังจะเห็นได้ว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้จัดทำ “โครงการจัดทำแบบก่อสร้างต้นแบบสถานบริการสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวทางเกณฑ์อาคารเขียว” เป็นตัวแบบ (Model) ในการพัฒนาอาคารสถานที่อารยสถาปัตย์สถานพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่เห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุ รับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีแนวคิดการเตรียมความพร้อมให้กับสถานบริการสุขภาพเพื่อรองรับการขยายตัวของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีความคล่องตัว สามารถอำนวยความสะดวกผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลท่าศาลาที่ปัจจุบันที่มีผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการขยายพื้นที่ตรวจโรคเพื่อลดความแออัดและอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มผู้สูงอายุแยกออกมาจากส่วนผู้ป่วยทั่วไป ด้วยพื้นที่เดิมของโรงพยาบาลผู้ป่วยทุกกลุ่มจะต้องใช้พื้นที่ร่วมกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคด้านการใช้งานของผู้สูงอายุที่ต้องใช้วีลแชร์ ไม้เท้า ที่พยุงเดิน ยากแก่การใช้บริการด้วยพื้นที่ห้องตรวจอยู่ชั้น 2 จึงต้องการปรับปรุงพื้นที่ใหม่โดยการการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้นล่างที่เป็นส่วนของที่พักผ่อนและทำงานของพยาบาลมาปรับปรุงเป็นคลินิกผู้สูงอายุ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่และใช้งานได้สะดวก เพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

        โดยใช้แนวคิดการออกแบบอารยสถาปัตย์ (Universal Design) หรือการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกแก่การใช้งานของผู้อายุ อำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และครอบคลุมทุกความต้องการที่หลากหลายของผู้สูงอายุ ผู้พิการ สตรีมีครรภ์ คนทุกวัย และทุกกลุ่มเป้าหมาย  ลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งในการยืน เดิน การทรงตัว และการลื่นล้ม มีแสงสว่างเพียงพอ ลดอุบัติเหตุ จากการเคลื่อนไหว การมองเห็น และการได้ยิน เช่น ระหว่างทางเดินในจุดต่างๆ ต้องมีราวจับมีราวจับเพื่อป้องกันการหกล้ม กระเบื้องวัสดุปูพื้นจะต้องไม่ลื่น ทั้งนี้ผู้สูงอายุต้องเข้าถึงการใช้ได้ง่ายและใช้งานได้สะดวก

ผู้จัดทำโครงการ : อาจารย์สุริณี กิ่งกาด (อาจารย์สาขาการออกแบบภายใน)

โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์

โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาการออกแบบภายใน โดย ผศ.ภริตพร แก้วแกมเสือ ด้วยงบสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อพ.สธ.-มวล.ประจำปีงบประมาณ 2566  “โครงการศึกษาการย้อมผ้าด้วยพันธุ์พืชในสวนสมรมและแนวทางการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา: พื้นที่เขตตำบลฉลอง จ.นครศรีธรรมราช” ได้ลงพื้นที่ทดลองการให้สีของพืชพันธุ์ต่างๆและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ พื้นที่ชุมชน ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช  โดยใช้กลุ่มมัดย้อมสิชล เป็นกรณีศึกษาและการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่สมาชิกชุมชนและผู้สนใจได้ 

โครงการได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนท้องถิ่นในการสนับสนุนธุรกิจ กลุ่มผ้ามัดย้อมสิชล เกี่ยวกับการจัดทำธุรกิจผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมด้วยสีจากธรรมชาติที่ยั่งยืนทางสังคมผ่านกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยการให้คำปรึกษา การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันกับนักศึกษาอาสาสมัครสาขาการออกแบบภายใน โดยเริ่มด้วยการเก็บข้อมูลด้านภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติของกลุ่ม ผู้วิจัยทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงพืชพันธุ์และวัสดุจากธรรรมชาติต่างๆในพื้นที่ ตำบลฉลอง ที่สามารถนำมาใช้ย้อมสีผ้า ผลคือจากพืชพันธุ์ในสวนสมรม ของเหลือทิ้งจากวิสาหกิจชุมชน และดอกดาวเรืองเหลือทิ้งจากกิจกรรมการไหว้พระขอพร จากวัดเจดีย์(ไอ้ไข่)  ทำการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล นำผลที่ได้มาถ่ายทอดสู่กลุ่ม  จากนั้นให้คำปรึกษาด้านการพัฒนากระบวนวิธีการย้อมให้หลากหลายและมีเอกลักษณ์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจำหน่าย การนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างโอกาสทางด้านรายได้ รวมถึงการฝึกผู้นำกลุ่มให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง รวมถึงการถ่ายทอดสู่กลุ่มผู้สนใจอื่นได้  โดยกระบวนการทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่าย

ผู้จัดทำโครงการ : ผศ.ภริตพร แก้วแกมเสือ (อาจารย์สาขาการออกแบบภายใน)

โครงการออกแบบและทดสอบประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์กันกระแทกจากแผ่นวัสดุต้นจากเหลือทิ้ง

โครงการออกแบบและทดสอบประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์กันกระแทกจากแผ่นวัสดุต้นจากเหลือทิ้ง

           โครงการออกแบบและทดสอบประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์กันกระแทกจากแผ่นวัสดุต้นจากเหลือทิ้ง เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่เหลือทิ้ง เป็นขยะทางการเกษตรที่เหลือจากการตัดแต่งต้นจากเพื่อให้ต้นสมบูรณ์เพื่อการทำอาชีพทำน้ำส้มจากและน้ำตาลจาก ในพื้นที่ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเกษตรกรนำต้นจากเหลือทิ้งทิ้งลงในพื้นที่ป่าจาก จนทำให้น้ำเน่าเสีย เกิดมลพิษต่อดินและเป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษ นอกเหนือจากนี้เกษตรกรใช้เศษต้นจากเหลือทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของทางจาก พอนจาก ลูกจาก นำไปเผาเป็นเชื้อเพลิงและเอาทำลาย เพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการนำขยะทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการทำเป็นบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ผู้วิจัยได้นำวัสดุต้นจากเหลือทิ้งมาสร้างเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ร่วมกับบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ออโต้ บ็อกซ์ จำกัด โดยบริษัททั้งสอง มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวัสดุใหม่ๆ เพื่อการทำบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ และส่งเสริมการสร้างอาชีพให้ชุมชน ภายใต้แนวคิด การจัดการอย่างยั่งยืนร่วมกับชุมชน โดยบูรณาการและสร้างความยั่งยืนจากพืชศึกษาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ของศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศจากครบวงจรบ้านบางตะลุมพอ นอกจากนี้ยังมีการสร้างความร่วมมือจากภาคชุมชน หน่วยงานรัฐ ผู้นำชุมชน ในการชี้แจงทำความเข้าใจและมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้แก่คนรุ่นใหม่ในพื้นที่เพื่อนำไปสร้างอาชีพ รวมกลุ่มผู้ที่สนใจในการนำองค์ความรู้ด้านการต้มเยื่อและเทคโนโลยีการแปรรูปที่มีความคล้ายคลึงการต้มน้ำตาลจากด้วยฝืนตามวิถีชุมชน นำไปสร้างเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเป็นแผ่นวัสดุต้นจากเหลือทิ้งส่งโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์กันกระแทกที่มีมาตรฐานสากลต่อไป ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น จะช่วยเพิ่มมูลค่าขยะทางการเกษตร ลดการเกิดน้ำเสีย ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาทำลาย สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เกิดเครือข่ายเชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนและบริษัทเอกชน สร้างอาชีพใหม่ภายใต้บริบทของชุมชน ส่วนภาคเอกชนมีวัตถุดิบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

      ดังนั้นผู้วิจัยเล็งเห็นว่า องค์ประกอบของต้นจากที่เหลือทิ้ง จะเป็นวัสดุหลักที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางการออกแบบ  นำมาแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งที่รองรับการกระแทกได้ โดยได้นำเอาปัญหาที่พบในรูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งของขวดน้ำตาลจากเดิมมาศึกษา มาวิเคราะห์เพื่อสร้างแนวทางการแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง ผู้วิจัยจึงมีแนวทางหลักในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งที่รองรับการกระแทกได้จากองค์ประกอบของต้นจากที่เหลือทิ้งสู่การจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยได้นำปัญหามาวิเคราะห์พร้อมเสนอแนะแนวทางและทิศทางในการดำเนินการวิจัย ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งจากการอัดขึ้นรูปเส้นใยที่เกิดจากการย่อยส่วนประกอบของพอนจากและทางจาก ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน  เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งที่ย่อยสลายได้ รองรับการเติบโตของการจำหน่ายสินค้าแบบออนไลน์ รวมถึงการจัดทำข้อมูลกรอบการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่การวางแผนและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเกษตรกร เครือข่ายชุมชนในพื้นที่ ต่อไป

ผู้จัดทำโครงการ : ผศ.ปรัชญา กฤษณะพันธ์ (อาจารย์สาขาการออกแบบภายใน)

โครงการอนุรักษ์พระอุโบสถวัดแดง

โครงการอนุรักษ์พระอุโบสถวัดแดง

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบได้จัดโครงการอนุรักษ์พระอุโบสถวัดแดงโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโครงการที่บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ การบริการวิชาการเพื่อสนองตอบต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยครบทั้ง 4 ด้าน
นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัย กรมศิลปากร และประชาชนในพื้นที่ เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของมรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้

บัดนี้มีความพร้อมที่จะเริ่มดำเนินการในการอนุรักษ์พระอุโบสถวัดแดงและได้ดำเนินการทำพิธีบวงสรวงเพื่อขออนุญาตในการอนุรักษ์พระอุโบสถพระอุโบสถหลังนี้และขอให้การดำเนินการครังนี้เป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคทั้งปวง โดยมีชาวบ้าน หน่วยงานราชการในพื้นที่ และตัวแทนสำนักวิชาสถาปัตยกรรม ฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

ผู้รับผิดชอบโครงการ : ผศ.ธนสัณฑ์ เทพรัตน์ (อาจารย์สาขาสถาปัตยกรรม)

โครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

          ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง ตั้งอยู่ 120 หมู่ 2 ตำบลสิชล อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80120 มีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ตั้งอยู่ริมคลองสิชล ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทองเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญของคนเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะกิจกรรมสมโภชศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทองซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของคนในชุมชน

 

          ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง มีแนวคิดที่จะพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณศาลเจ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ริมน้ำของคลองปากน้ำ สิชล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย-จีน พร้อมทั้งส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่พื้นที่ชุมชนโดยรอบ

 

ดำเนินการโดยสาขาสถาปัตยกรรมร่วมกับรายวิชา ARC59-354 และ ARC59-355
(ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์ศศิพิมพ์ อิสระวัฒนา อาจารย์พรทิพย์ กิ้มนวน)
ช่วงเวลาดำเนินการ 2 เมษายน 2564 – 31 สิงหาคม 2564

โครงการออกแบบพื้นที่เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองท่าศาลา

         สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาสถาปัตยกรรม ได้จัดโครงการบริการวิชาการ โดยได้บูรณาการกับการเรียนการสอน กับรายวิชาการออกแบบภายใน เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษารายวิชาดังกล่าวและผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอาคารเดิมให้สามารถใช้ประโยชน์ และเหมาะสมกับความต้องการในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยได้เลือกจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และปัจจุบันมี จำนวนผู้มาเยือนเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ พระมหาธาตุเมืองนคร หลวงพ่อท่านคล้าย วัดธาตุน้อย ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ตาพรานบุญวัดยางใหญ่ เป็นต้น เพื่อเป็นการรองรับผู้มาเยือนจึงมีกลุ่มชมรมการท่องเที่ยวท่าศาลา THASALA DISTRICT เล็งเห็น ถึงศักยภาพของเมืองท่าศาลาในหลายๆ ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวที่กำลังหลั่งไหลมาเยือน จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่าศาลาเคยเป็นแค่เมืองทางผ่าน แต่ต่อไปนี้ท่าศาลาจะไม่ใช่ทางผ่าน แต่จะเป็นเมืองที่ใครต้องแวะ ต้องชม ต้องเช็คอิน ต้องแวะชิม เมื่อสำรวจย่านเมืองเก่าพบว่ามีอาคารพาณิชย์มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ จึงได้คัดเลือกอาคารกรณีศึกษา 4 หลัง เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา สำรวจ เพื่อนำเสนอกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคาร และเสนอแนวทางการออกแบบปรับปรุงอาคารพาณิชยกรรม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ต่อไป
 
ดำเนินการโดยสาขาสถาปัตยกรรมร่วมกับรายวิชา ARC62-241
(ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจารย์ จิตติมา เชาว์แก้ว อาจารย์ สุผาณิต วิเศษสาธร และอาจาย์พรทิพย์ กิ้มนวน)
ช่วงเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 – 30 เมษายน 2564
(ดำเนินการแล้วเสร็จ)

โครงการออกแบบปรับปรุงอาคารพาณิชย์เก่า (อาคารไม้) อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

         อาคารพาณิชย์เก่า (อาคารไม้) ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกศาลเจ้า ถนนตลาดสิชล เป็นอาคารเรือนไม้เก่าที่มีอายุเกือบ 100 ปี เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าของอำเภอสิชลในอดีต

 

          ตลาดอาทิตย์ต้นพะยอมสิชล (ตลาดเทวดา) มีโครงการที่จะปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่อาคารพาณิชย์เก่า (อาคารไม้) บริเวณสี่แยกศาลเจ้า ถนนตลาดสิชล เพื่อเป็นโฮสเทล สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวในบริเวณเมืองเก่าสิชล ที่แสดงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชนของชาวสิชล

 
ดำเนินการโดยสาขาการออกแบบภายในร่วมกับรายวิชา INT62-213 และ INT62-321
(ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ สวัสดี อาจารย์ชิติพัทธ์ เปรมสง่า)
ช่วงเวลาดำเนินการ 19 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 สิงหาคม 2564

จัดการความรู้รายวิชาสถาปัตยกรรมไทย สู่การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้

วัตถุประสงค์ ของโครงการ

1) สร้างองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่ภาคใต้และรวบรวมเผยแพร่เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางด้านวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

2) นักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

หลักการและเหตุผล

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบได้จัดโครงการอนุรักษ์มรดกทาสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยได้บูรณาการกับการเรียนการสอน รายวิชาสถาปัตยกรรมไทยเพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษารายวิชาดังกล่าวและผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของสำนักวิชาที่จะเป็นฐานข้อมูลทางด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ในการเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการสืบสานเพื่อทำนุบำรุงศิลป-วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้นักวิชาการ นักศึกษาทางสถาปัตยกรรมหรือคนที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและมีส่วนร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า โดยที่เกิดการอนุรักษ์จากชุมชนเองบูรณาการร่วมกับการเรียนรู้และการปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของอาจารย์ และนักศึกษาทั้งในและระหว่างคณะด้านสถาปัตยกรรมในพื้นที่ภาคใต้ และสามารถพัฒนาทางกายภาพให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้โดยชุมชนเองมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เกิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า และเกิดการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน อันจะสร้างรายได้ให้ชาวบ้านและเกิดการสืบสานภูมิปัญญาและวิถีชีวิตชาวบ้านไปพร้อมกันบนฐานทางวัฒนธรรมของชุมชนเอง

โครงการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ สาขาสถาปัตยกรรม

โครงการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ สาขาสถาปัตยกรรม ปีการศึกษา 2563

นำนักศีกษาทัศนะศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ สำรวจรังวัด เขียนแบบและทำหุ่นจำลองสถาปัตยกรรมไทย

พระอุโบสถ หอฉัน หอไตร วัดวนชะลิก อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และวัดควนปรง อ.เมือง จ.พัทลุง

Share this:

Like this:

Like Loading...