คู่มือแนวทางการปรับปรุงบ้านเพื่อผู้ที่เสี่ยงต่อการติดต่อ (High Risk Contact)

กลุ่มผู้ใช้งานหลัก                 ผู้สูงอายุ และเด็ก หรือบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โดยอ้างอิงมาตรฐานหอผู้ป่วยวิกฤต  หอผู้ป่วยและ PE room (Protective Environment Room) ของโรงพยาบาล

รูปแบบการป้องกัน          เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับการแพร่กระจายเชื้อโรคจากผู้อื่น

หลักการสำคัญ                    1 Administrative Controls

2 Environmental Controls*** เพื่อการควบคุมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากโรค โดยควบคุมไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาในห้อง

3 Respiratory – Protection Controls

Environmental Controls

ระบบห้อง                             ห้องความดันบวก (Positive Pressure) ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคไม่ให้แพร่เข้ามาในห้อง

Positive Pressure             1 ความดันภายในห้อง > ความดันภายนอกหรือบริเวณโดยรอบ

2 ไม่ให้อากาศภายนอกเข้าสู่ภายในห้อง

3 อากาศภายในห้องออกสู่ภายนอกห้องได้

4 ระบบจ่ายอากาศ ที่จ่ายเข้ามาในห้องควรผ่านแผ่นกรองอากาศระดับ HEPA filter

Space Requirement        ห้องพักแบบมีห้องน้ำในตัว

ห้องก่อนเข้าห้องพัก (Anteroom)

อุณหภูมิ ความชื้น            ห้องผู้สูงอายุ เด็ก หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เทียบเคียงมาตรฐาน ห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU))

อุณหภูมิ 21– 270C ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 60 %

ความดัน                               กำหนดความดันของอากาศภายในห้องเมื่อเทียบกับบริเวณภายนอกโดยรอบ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาภายในห้อง

                                                Positive Pressure: มีความดันเป็นบวกเมื่อเทียบกับบริเวณโดยรอบ

การปิดรูรั่ว (Seal)                ขนาดของรูรั่วทั้งหมดในห้องจะต้องรวมกันแล้วไม่มากกว่า 40 ตารางนิ้ว

การหมุนเวียนอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Recirculation) หมุนเวียนอากาศกลับมาใช้ใหม่ได้ต่อเมื่ออากาศที่หมุนเวียนนั้นผ่านการกรองด้วย HEPA filter

ตาราง แสดงคุณลักษณะทางวิศวกรรมของพื้นที่ที่สำคัญในสถานพยาบาลเปรียบเทียบกับบ้านพักอาศัยที่ประยุกต์ใช้เพื่อการกักตัว (Quarantine)

Specification ห้องทั่วไป : All Room ห้องพักผู้สูงอายุ เด็ก ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ: PE room (Protective Environment Room) Critical care room ห้องก่อนเข้าห้องพักIsolation anteroom Operating room
Air pressure Negative Positive Positive, Negative, or Neutral Positive or Negative Positive
Room air changes > 6 ACH

(for existing rooms)

> 12 ACH

(for renovation or new construction)

> 12 ACH > 6 ACH > 10 ACH > 15 ACH
Sealed Yes Yes No Yes Yes
Filtration supply 90% (dust- spot ASHRAE 52.1 1992) 99.97%

(HEPA filter)

> 90%

Yes

> 90%

No

> 90%

Yes

Recirculation No** Yes

Remark: * ในห้องผ่าตัดบางประเภทเช่นห้องผ่าตัดทาง ออโธปิดิกส์ ต้องใช้ HEPA filter

** สามารถ Recirculation ได้โดยผ่าน HEPA filter ก่อนที่อากาศจะหมุนเวียนกลับมาในห้อง

อากาศที่ระบายทิ้ง              ไม่ระบายอากาศที่มีการปนเปื้อนย้อนกลับเข้าสู่ห้อง

                                                มีการระบายอากาศทิ้งจากห้องผู้ป่วยตลอดเวลา

การระบายทิ้งจะต้องผ่านแผงกรองอากาศระดับ HEPA filter ก่อนปล่อยทิ้ง

จุดระบายอากาศต้องอยู่ห่างจากจุดนำอากาศเข้ามากกว่า 25 ฟุต

ทิศทางการระบายอากาศ  อากาศเคลื่อนที่จาก ผู้สูงอายุ และเด็ก หรือบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อยู่ในตำแหน่งต้นทางลมหรือเหนือลม

                                                ลมสะอาดผ่านผู้ป่วยเป็นลำดับแรก พิจารณาจากตำแหน่งของหัวจ่ายลม หน้ากากลมกลับ ความเร็วลมที่จ่าย และความสามารถของพัดลมดูดลมกลับ ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้ทิศทางการไหลของอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐาน

                                                ควบคุมทิศทางการไหลของอากาศการกรองด้วยแผงกรองอากาศ

อัตราการระบายอากาศ     อัตราการระบายอากาศต่อชั่วโมง (Airchange per hour : ACH)

อัตราของลมหมุนเวียนในห้อง 6 ACH

อากาศระบายทิ้ง ไม่น้อยกว่า 1 ACH

อัตราการเติมอากาศ       อัตราการเติมอากาศจากภายนอกเข้ามาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง

(2 ACH)

จุดนำอากาศเข้า จะต้องห่างจากจุดปล่อยอากาศเสีย อย่างน้อย 10 เมตร

ควรอยู่เหนือพื้นดินอย่างน้อย 3 ฟุต

ตาราง อัตราการนำเข้าอากาศภายนอก อัตราการหมุนเวียนอากาศภายใน และความดันสัมพัทธ์

พื้นที่ใช้สอยบ้านเทียบเคียงกับพื้นที่ใช้สอยของโรงพยาบาล อัตราการนำเข้าอากาศภายนอกไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในห้องไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง ความดันสัมพันธ์กับพื้นที่ข้างเคียง
ห้องนอน : ห้องพักผู้ป่วย 2 6 สูงกว่า
ห้องนอนสำหรับผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ : ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ 2 12 ต่ำกว่า

(Negative Pressure)

ห้องนอนสำหรับผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ : ห้องแยกผู้ป่วยปลอดเชื้อ -Nursery 2 – 5 12 สูงกว่า

(Positive Pressure)

โถงหน้าห้อง : บริเวณพักคอยสำหรับแผนกผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน 2 12 ต่ำกว่า
พื้นที่ทั่วๆไป : แผนกผู้ป่วยนอก 2 12 ต่ำกว่า

 

การกรองอากาศ                 ประเภทของแผงกรองอากาศ เป็นประเภทที่ 4 หรือ MERV 7 มีประสิทธิภาพการกรองไม่ต่ำกว่า 25 % และแผงกรองอากาศ เป็นประเภทที่ 2 หรือ MERV 14 มีประสิทธิภาพการกรองไม่ต่ำกว่า 90 %

ตาราง อัตราการนำเข้าอากาศภายนอก อัตราการหมุนเวียนอากาศภายใน และความดันสัมพัทธ์

พื้นที่ใช้สอยบ้านเทียบเคียงกับพื้นที่ใช้สอยของโรงพยาบาล จำนวนชั้นขั้นต่ำ ประเภทแผงกรองอากาศชั้นที่ 1* ประเภทแผงกรองอากาศชั้นที่ 2*
ห้องนอนสำหรับผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ : ห้องผ่าตัด 2 4 1

ติดตั้งที่ช่องดูดลมออก (ในกรณีเป็นห้องผ่าตัด ติดตั้งที่ช่องจ่ายลม)

ห้องนอนสำหรับผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ : หอผู้ป่วยหนัก (ICU) ห้องรักษาผู้ป่วย ห้องเด็กแรกคลอด บริเวณพักคอยผู้ป่วยนอก 2 4 2
ห้องทั่วไป : ห้องพักผู้ป่วย ทางเดินหน้าห้องผู้ป่วย พื้นที่เตรียมอาหาร ซักรีด 1 4

 

ตาราง ประเภทแผงกรองอากาศและประสิทธิภาพ*

ประเภท ประสิทธิภาพขั้นต่ำ มาตรฐานการทดสอบ
1 99.97%

MERV 17

HEPA 99.97% efficiency on 0.3 μ particle, IEST Type

A ASHRAE Standard 52.

2 90 – 95%

MERV 14

ASHRAE Standard 52.1 (Dust Spot)

ASHRAE Standard 52.2

3 80 – 90%

MERV 13

ASHRAE Standard 52.1 (Dust Spot)

ASHRAE Standard

4 25 – 30%

MERV 7

ASHRAE Standard 52.1 (Dust Spot)

ASHRAE Standard

MERV = Minimum Efficiency Reporting Value ตามมาตรฐาน ASHRAE 52.2

 

ระบบแสงสว่าง                ระบบแสงสว่างธรรมชาติ (Daylight)

                                                การใช้ UVGI (Ultraviolet germicidal irradiation)

งานระบบสำคัญ                  1 อุปกรณ์ดูดอากาศ

2 ระบบแผ่นกรองอากาศ

3 ระบบปรับอากาศ

4 ระบบการฆ่าเชื้อ

หมายเหตุ: เครื่องปรับอากาศ ท่อลม และระบบการระบายอากาศแยกเป็นอิสระจากพื้นที่ส่วนอื่น

วัสดุพื้นผิวภายใน           ผิวเรียบทำความสะอาดง่าย

2 ห้องก่อนห้องแยก (Anteroom)  ของห้องผู้สูงอายุ และเด็ก หรือบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ระบบห้อง                             ห้องความดันบวก (Positive Pressure) ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อออกไปภายนอกห้อง

เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิก สหรัฐอเมริกา (AIA) สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศสหรัฐอเมริกา (ASHRAE) วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย

Negative Pressure           ความดันภายในห้อง > ความดันภายนอกหรือบริเวณโดยรอบ

Space Requirement        พื้นที่พักขยะ อ่างล้างมือ และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็น

อุณหภูมิ ความชื้น          อุณหภูมิ 21– 270C ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 60 %                             

ความดัน                               กำหนดความดันของอากาศภายในห้องเมื่อเทียบกับบริเวณภายนอกโดยรอบ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาในห้อง

                                    Positive Pressure: ความดันอากาศของห้องก่อนห้องแยก (Anteroom) มากกว่าความดันบริเวณภายนอก

การปิดรูรั่ว (Seal)                จำกัดรูรั่ว มียางขอบประตูหน้าต่าง โดยขนาดของรูรั่วทั้งหมดในห้องจะต้องรวมกันแล้วไม่มากกว่า 40 ตารางนิ้ว

อัตราการระบายอากาศ     อัตราการระบายอากาศต่อชั่วโมง (Airchange per hour : ACH)

1 อัตราลมหมุนเวียนในห้อง > 10 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง (10 ACH)

2 อัตราลมระบายทิ้ง 5 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง (5 ACH)

อัตราการเติมอากาศ       1 มีการเติมอากาศจากภายนอกเข้ามาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง (2ACH) โดยอากาศที่เติมเข้ามามีการปรับอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 24 – 250C ความชื้นสัมพัทธ์ < 60% และมีการกรองอากาศที่เติมเข้ามาด้วยแผงกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพ 25% และ 90%

2 จุดนำอากาศเข้า จะต้องห่างจากจุดปล่อยอากาศเสีย อย่างน้อย 10 เมตร

3 ควรอยู่เหนือพื้นดินอย่างน้อย 3 ฟุต

การกรองอากาศ                 1 ประเภทของแผงกรองอากาศ เป็นประเภทที่ 1 หรือ MERV 17 คือ HEPA filter มีประสิทธิภาพการกรองไม่ต่ำกว่า 99.97%

                                                2 อากาศที่ปล่อยทิ้งมีการกรองด้วยแผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูง 25% 90% และ 99.97% (HEPA filter) รวมทั้งฆ่าเชื้อด้วยระบบ UVGI ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก โดยท่อระบายอากาศทิ้งเหนืออาคาร

เอกสารอ้างอิง

[1] พ.ญ. จริยา แสงสัจจา, ทรงยศ ภารดี. คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารสถานพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2550.

[2] แพทย์หญิงศรีประภา เนตรนิยม, และคณะผู้แปลในกรมควบคุมโรค กองวัณโรค. แนวทางการใช้ UV ทำลายเชื้อโรค แปลจากหนังสือ Guide to using germicidal UV โดยกองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2562.

[3] กลุ่มส่งเสริมมาตรฐานวิศวกรรม กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ตู้ควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจุดพ่นยา: Respiratory Disease Control. นนทบุรี.

[4] รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑามาศ โชติบาง, และคณะทำงานโครงการหน่วยวิชาการการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการดูแลเด็กปฐมวัย: พื้นที่ภาคเหนือ (COACT) โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). การพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ภาคเหนือ.

[5] ศาสตราภิชาน ทวี เวชพฤติ. การระบายอากาศของห้องคนไข้ แบบแยกเดี่ยว: Isolation Room Ventilation. กรุงเทพมหานคร: สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย.

Share this:

Like this:

Like Loading...