คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณ

 

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ นำผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณ

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563

 

วันนี้ (21 กรกฎาคม 2563 ) ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2563 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

28 กรกฎาคม 2563 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยในพิธีฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประธานในพิธี ได้ถวายความเคารพ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพถวายราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นได้กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และนำผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า

จะประพฤติปฏิบัติตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี และพลังของแผ่นดิน มีความซื่อสัตย์สุจริตเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท มุ่งมั่นแน่วแน่แก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน

สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่แผ่นดินและดำเนินชีวิต โดยยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนาตามแนวทางในพระบรมราโชวาทตลอดไป”

ประธานในพิธีและผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงสดุดีจอมราชา  เป็นอันเสร็จพิธี  จากนั้นอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ได้ให้ข้อคิดการทำงานตามแนวทางเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีเพื่อเป็นพลังสำคัญให้แผ่นดินนี้

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขอเชิญผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ผ่านแบนเนอร์ลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ บนหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หรือผ่านทางออนไลน์บนเว็บไซต์ของสำนักงานก.พ. www.ocsc.go.th   ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2563

ข้อมูลจากส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ “ระดับปริญญาโท”

ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักวิชาสถาปัตย์กรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มีความประสงค์ เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ “ระดับปริญญาโท”

เพื่อศึกษาในต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ2564 (ทุนมวล.)

– สาขาสถาปัตยกรรม จำนวน 1 อัตรา

 

 

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเเละดาวโหลดใบสมัครได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

 

https://drive.google.com/file/d/1_53ajZ4VNKBigyC2yxfiHjxajaiPjdHC/view?fbclid=IwAR0EhZQu1GNcNCuikZ7mucCUlUqdJmqn2O-1Pcbodh72WDK5vZ3naMz98_A

สารจากคณบดี: รองศาสตราจารย์ ดร.กิจชัย จิตขจรวานิช

สารจากคณบดี

 

 

ในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน หรือที่เรียกว่า

“เทคโนโลยี ดีสรัปชั่น (Technology disruption)” ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการอยู่รอด คือการปรับตัว   คำนี้เป็นคำสำคัญ เป็น keyword ที่มีนัยสำคัญมาตั้งแต่อดีตกาล

ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ดึกดำบรรพ์ ผ่านช่วงเวลาต่างๆ จนถึงทุกวันนี้   สิ่งมีชีวิตใดที่รู้จักการปรับตัว ก็จะสามารถอยู่รอด ผ่านห้วงวิกฤตมาได้

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้คำนึงถึงสถานการณ์เช่นนี้อย่างรอบรู้

และเห็นว่าการปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเราในฐานะองค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องสามารถปฏิบัติตน

ให้เป็นผู้นำของการปรับตัวครั้งนี้ และนำพาผู้คนในสังคมให้รอดพ้นจากวิกฤตได้อย่างปลอดภัย   คณาจารย์ในหลักสูตรต่างๆ ของเรา

ทั้งสาขาสถาปัตยกรรม สาขาการออกแบบภายใน และสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ปรับกลยุทธ์การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์

ในช่วงที่สังคมต้องการระยะห่าง โดยผ่านโปรแกรมต่างๆ ได้แก่ Zoom, Webex, Microsoft Meeting และ Google Classroom

เราได้ใช้บทเรียนต่างๆ จากสื่อโซเชียลมีเดียอันเป็นความรู้กว้างไกลโดยผนวกเข้ามาสู่ชั้นเรียน  รวมถึงการสัมมนาสำนักวิชาฯ

ได้ถกกันถึงประเด็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ A.I. (Artificial Intelligent) ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้

ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจข้อมูลทางดิจิทัล (digital literacy),

วัสดุสมาร์ท (smart materials), เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D printing), อุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูล

ถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต (Internet of Thing – IoT) ตลอดจนระบบการสร้างแบบจำลองทางดิจิทัลเสมือนของอาคารที่แม่นยำ

(Building Information Modeling – BIM)  นอกจากนี้ยังรวมถึงความรอบรู้เรื่องความยั่งยืนทางสภาพแวดล้อม (environmental sustainability)

และเมืองอัจฉริยะ (smart cities)

ดังนั้น ในปีการศึกษา 2563 – 2564 นี้ สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบจึงจะได้เปิดยุคสมัยใหม่แห่งการเรียนรู้

ทางด้านงานสร้างสรรค์ของการออกแบบที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีข้อมูลทางดิจิทัล ที่พร้อมจะก้าวเดินไปกับสังคมปกติใหม่ (New Normal)

สู่อนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.กิจชัย จิตขจรวานิช

คณบดีสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การจัดการความรู้รายวิชาสถาปัตยกรรมไทย สู่การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้

การจัดการความรู้รายวิชาสถาปัตยกรรมไทย

สู่การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้

 

วัตถุประสงค์ ของโครงการ

1) สร้างองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่ภาคใต้

และรวบรวมเผยแพร่เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางด้านวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

2) นักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้

 

หลักการและเหตุผล

สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบได้จัดโครงการอนุรักษ์มรดกทาสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ขึ้นเป็นประจำทุกปี

โดยได้บูรณาการกับการเรียนการสอน รายวิชาสถาปัตยกรรมไทยเพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษารายวิชาดังกล่าวและผู้เข้าร่วมโครงการ

ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามปณิธานของสำนักวิชาที่จะเป็นฐานข้อมูล

ทางด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ในการเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการสืบสาน

เพื่อทำนุบำรุงศิลป-วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้นักวิชาการ นักศึกษาทางสถาปัตยกรรมหรือคนที่สนใจ

เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันและมีส่วนร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า โดยที่เกิดการอนุรักษ์จากชุมชนเองบูรณาการร่วมกับการเรียนรู้

และการปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมของอาจารย์ และนักศึกษาทั้งในและระหว่างคณะด้านสถาปัตยกรรมในพื้นที่ภาคใต้ และสามารถพัฒนา

ทางกายภาพให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้โดยชุมชนเองมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เกิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า

และเกิดการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน อันจะสร้างรายได้ให้ชาวบ้านและเกิดการสืบสาน

ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตชาวบ้านไปพร้อมกันบนฐานทางวัฒนธรรมของชุมชนเอง

 

สามารถดูรายละเอียดได้จากลิงค์นี้ https://arch.wu.ac.th/?page_id=9667